Call out ดาราและประชาชนจะ’ด่า’หรือ’วิจารณ์’ข้าราชการอย่างไรจึงไม่ตกเป็น’เหยื่อตำรวจ’

Call out ดาราและประชาชนจะ’ด่า’หรือ’วิจารณ์’ข้าราชการอย่างไรจึงไม่ตกเป็น’เหยื่อตำรวจ’

ยุติธรรมวิวัฒน์

 

                                   Call out 

ดาราและประชาชนจะ “ด่า” หรือ “วิจารณ์”   ข้าราชการอย่างไรจึงไม่ตกเป็น”เหยื่อตำรวจ”

 

                                                                                   พันตำรวจเอกวิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร         

 

                  สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ประเทศไทยในความเป็นจริงขณะนี้ที่ถือว่าอยู่ในขั้น “สุดวิกฤต”!

เนื่องจากเชื้อร้ายสายพันธ์ใหม่ได้กระจายไปแทบทุกจังหวัดโดยที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้

ไม่ว่าจะใช้หรือยกระดับมาตรการทางกฎหมายให้เข้มข้นอีกเพียงใด

ในขณะนี้ ก็น่าจะถือว่า “ช้า” และ “สายเกินไป”!

ในแต่ละวัน ไม่มีใครรู้หรือยืนยันได้ว่า  มีประชาชนในแต่ละพื้นที่รับเชื้อเพิ่มขึ้นกี่หมื่นคนกันแน่

จากตัวเลขราชการคือ ๑๕,๓๓๕ คน สำหรับเมื่อวาน

ส่วนคนตาย อาจใกล้เคียงกับความเป็นจริงคือวันละกว่าหนึ่งร้อยคน

ซึ่งทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อและคนตายมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่ช้า

เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจและคัดแยก  ควบคู่ไปกับการรักษาที่ดีไปพร้อมกัน 

เพราะทุกโรงพยาบาลไม่มีเตียงเพียงพอต่อการดูแลตามมาตรฐานการแพทย์อย่างที่เคยปฏิบัติมา

นอกจากนั้นในอนาคตอันไกล้  ยาสมัยใหม่คือฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้เป็นหลักในการรักษาก็จะมีปัญหา

รัฐบาลอาจไม่สามารถจัดซื้อหรือหามาเพิ่มให้เพียงพอต่อการช่วยชีวิตผู้ติดเชื้อที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วได้

เมื่อถึงเวลานั้น ความตายของผู้ป่วยในทุกๆ โรคก็จะเพิ่มขึ้นอย่างน่าสพรึงกลัว!                   

วัคซีนซิโนแวคจากประเทศจีนที่รัฐจัดหามาให้ประชาชนฉีดฟรี  ก็มีปัญหา

เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่า ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและหยุดยั้งความป่วยไข้ แม้กระทั่งความตายของประชาชนจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้

ในขณะที่วัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์  โมเดินน่า  หรือแม้แต่ Astrazeneca ที่ผลิตในไทยซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าสามารถหยุดยั้งโรคได้ดีกว่า

รัฐก็กลับไม่สามารถจัดหามาฉีดให้ประชาชนเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยถึงตายให้ทันเวลาได้

ความไม่พอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในหมู่ประชาชนกำลังเพิ่มความร้อนแรงยิ่งขึ้น

สิ่งหนึ่งที่เป็นอาวุธของทุกคนยุคปัจจุบันก็คือ  การพูดและโพสต์ข้อความต่างๆ ลงในสื่อออนไลน์ ทั้งการ “ด่า” หรือ “วิพากษ์วิจารณ์” การทำงานของรัฐบาลและข้าราชการผู้รับผิดชอบ

ซึ่งมีทั้งการแสดงออกอย่างสุภาพ หรือแม้กระทั่งหยาบคาย

ส่งผลทำให้หลายคนกลายเป็น “เหยื่อการสอบสวน” ของตำรวจไทย!”

ถูกออกหมายเรียกเป็นผู้ต้องหากันง่ายๆ   ในกรณีที่มีคนแจ้งหรืออ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีหรือคนนั้นคนนี้ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ที่พูดหรือโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท

Call out
ขอบคุณภาพจาก Bangkok insignt

อันที่จริง  การ “ด่าว่าหรือวิจารณ์รัฐบาล” ไม่ว่าจะใช้คำหยาบคายอย่างไร  ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายอาญามาตราใด

เนื่องจาก “รัฐบาล” ไม่ใช่บุคคลหรือนิติบุคคล ที่จะถือว่าเป็นผู้เสียหายจากการถูกด่าหรือวิจารณ์เช่นนั้นกันแต่อย่างใด 

โดยได้มีคำพิพากษาฏีกาที่ ๗๒๔/๒๔๙๐  วินิจฉัยเป็นหลักไว้   

ในเรื่องหมิ่นประมาทนี้มี มาตรา ๓๒๖ ของประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า

“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา ๓๒๘  ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร  กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น  ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และไม่ไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๓๒๙  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(๑)  เพื่อความชอบธรรม  ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามครรลองคลองธรรม

(๒)  ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(๓)  ติชม ด้วยความเป็นธรรม  ซึ่งุบคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ฉะนั้น  ถ้าใครวิจารณ์การทำงานของ “รัฐบาล” ไม่ว่าชุดใดว่า โง่เง่าเต่าตุ่น หรือจะใช้คำพูดให้แรงหรือหยาบคายเพียงใดกว่านี้  ก็ไม่มีสามารถอ้างว่าเป็นผู้เสียหายที่จะไปแจ้งความกับตำรวจหรือฟ้องคดีต่อศาลได้

แต่หากใครเห็นว่า  ด่ารัฐบาลแล้วไม่สะใจ  ต้องการให้โดนพลเอก ประยุทธุ์  จันทร์โอชา  ในฐานะนายกรัฐมนตรี หรือข้าราชการผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคนใด ซึ่งเป็น “บุคคล” ตามกฎหมาย  ก็สามารถทำได้

แต่ต้องไม่ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็น “การใส่ความ”  ซึ่งความหมายตามพจนานุกรม คือ “ใส่ร้าย, เอาความเท็จป้ายสีให้ผู้อื่นเสียหาย”

ฉะนั้น  หากดาราหรือประชาชนคนใด Call out หรือ  “ตะโกน” หรือ ”โพสต์ความจริง” เรื่องใด แม้จะทำให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการหรือบุคคลใดได้รับความเสียหายย่อยยับเพียงใด!

ถ้าทำไปด้วยความสุจริต  ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๖ หรือ ๓๒๘ รวมทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มตรา ๑๔ ที่มีโทษจำคุกถึงห้าปี 

ตามที่หลายคน “นิยมแจ้งความกล่าวหา” กันมั่วๆ แต่อย่างใด!

Call out
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์  คอลัมน์ เสียงประชาชนปฏิรูปตำรวจ:  ฉบับวันที่ 26 ก.ค. 2564