กรมการปกครองตื่น!กำชับนายอำเภอ-ปลัดอำเภอเตรียมความพร้อมการสอบสวนคดีอาญา10ข้อ

กรมการปกครองตื่น!กำชับนายอำเภอ-ปลัดอำเภอเตรียมความพร้อมการสอบสวนคดีอาญา10ข้อ

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 เพจเฟซบุ๊ก “ส่วนการสอบสวนคดีอาญา” เผยแพร่บทความ ของ  ดร.รัฐวิช จิตสุจริตวงศ์ ผอ.ส่วนการสอบสวนคดีอาญา สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า

#พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง

☑️เช็ค 10 ข้อ เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานสอบสวน…

ตามที่ท่านนายอำเภอและท่านปลัดอำเภอทั้งหลายมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่จักต้องทำการสอบสวนคดีอาญา ตาม ป.วิ.อาญา ประกอบกฎกระทรวงและข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย นั้น

วันนี้ก่อนที่จะมีคดีเกิดขึ้นในเขตท้องที่รับผิดชอบ เรามาเช็คลิสต์ 10 ข้อ เพื่อเตรียมความพร้อมกันก่อนดีกว่า…

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งแต่งตั้งปลัดอำเภอภายในจังหวัด ให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง
  2. นายอำเภอในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองระดับอำเภอ ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปกครอง พนักงานราชการ ฯลฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่เสมียนคดี และออกคำสั่งให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองและเสมียนคดีเป็นเวรประจำวัน
  3. ปรับปรุงที่ว่าการอำเภอให้มีที่ทำการของพนักงานสอบสวนอย่างเป็นสัดส่วน พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ กล้องถ่ายรูป ฯลฯ ให้พร้อมสำหรับทำการสอบสวน
  4. เมื่อมีคดีอาญาในอำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครองเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองและเสมียนคดีเวรประจำวันต้องพร้อมทำการสอบสวนได้ทันที สำหรับการเริ่มต้นคดี การรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ ให้ใช้แบบพิมพ์ คบ.1 และ คบ.2
  5. ในการสอบสวน อาทิ การสอบสวนปากคำ การส่งหมายเรียก การทำสัญญาประกัน การตรวจที่เกิดเหตุ หรือการทำรายงานการสอบสวน ฯลฯ ให้ใช้แบบพิมพ์ คบ.1 – 29 เป็นหลัก
  6. การจัดเก็บของกลางในคดี จะต้องมีการจัดระบบการจัดเก็บ/คืนของกลาง ให้แก่เสมียนคดีเป็นผู้รับผิดชอบ และมีตู้หรือห้องสำหรับไว้จัดเก็บ

7.การจัดเก็บและส่งตรวจประวัติอาชญากรจากลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา จะต้องมีแบบพิมพ์และหมึกสำหรับพิมพ์ลายนิ้วมือโดยเฉพาะ

  1. การควบคุมตัวผู้ต้องหา ให้ยึดหลักให้ประกันตัวเป็นหลัก ควบคุมตัวเป็นข้อยกเว้น ซึ่งหากให้ประกันตัวโดยให้ใช้เงินสดเป็นหลักประกัน ให้เสมียนตราอำเภอเป็นผู้จัดเก็บและคืนตามระเบียบทางการคลัง หากจำเป็นต้องควบคุมตัวไว้ ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองประสานงานฝากควบคุมไว้ที่ สภ.หรือทำคำร้องไปขอฝากขังต่อศาล
  2. การออกไปทำการสอบสวน เช่น การออกไปตรวจที่เกิดเหตุ การไปขอหมายค้น/หมายจับ หรือการไปผัดฟ้อง/ฝากขังต่อศาล การนำตัวผู้ต้องหาไปฝากควบคุมไว้ที่ สภ. หรือการนำตัวผู้ต้องหาไปส่งพนักงานอัยการพร้อมสำนวนการสอบสวน ฯลฯ จะต้องมีการจัดเตรียมยานพาหนะพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ให้กับพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง รวมทั้งควรมอบหมายให้มีสมาชิก อส. ช่วยในกรณีต้องมีการควบคุมตัวผู้ต้องหาไป
  3. มีเจ้าหน้าที่ซึ่งได้ลงทะเบียนเป็น User ในระบบรายงานการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองแล้ว เพื่อรายงานและจัดเก็บเป็นสถิติเมื่อมีการสอบสวนเกิดขึ้น

10 ข้อนี้ คือ มาตรฐานขั้นต่ำที่ทุกอำเภอควรจักต้องมีพร้อม เพื่อเตรียมรองรับกรณีเมื่อมีคดีอาญาในอำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครองเกิดขึ้นในความรับผิดชอบของตน ฉะนั้น หากข้อใดยังไม่มี ยังไม่พร้อม หรือปฏิบัติยังไม่ได้ ก็ขอให้เร่งดำเนินการแก้ไขหรือจัดให้มีโดยเร็ว เพื่อให้ฝ่ายปกครองทุกท้องที่ทั่วประเทศพร้อมสำหรับทำการสอบสวน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพต่อไป

 

#เชี่ยวชาญการดำเนินคดีอาญาประชาชนได้รับความเป็นธรรม

#การอำนวยความเป็นธรรมคือที่พึ่งของประชาชน