“ผมถามดังๆในคดีที่มีพยานหลักฐานมากมายแต่ตำรวจทำความเห็นให้สั่งไม่ฟ้องให้อัยการ มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี” -ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง

“ผมถามดังๆในคดีที่มีพยานหลักฐานมากมายแต่ตำรวจทำความเห็นให้สั่งไม่ฟ้องให้อัยการ มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี” -ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง

ผมถามดังๆในคดีที่มีพยานหลักฐานมากมายแต่ตำรวจทำความเห็นให้สั่งไม่ฟ้องให้อัยการ มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี พยานหลักฐานไม่มีเลยแต่ทำความเห็นเสนอให้อัยการสั่งฟ้อง มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี เพราะคนที่รับผิดชอบจริงๆคืออัยการ แล้วคุณเอาคนที่ไม่รับผิดชอบอะไรเลยมาแย้งกันไปกันมาทำไม(ม.22ร่างพรบ.การสอบสวนคดีอาญา) แปลว่าบริสุทธิ์ ก็ฟ้องไป พยานหลักฐานไม่พอก็ฟ้องไป ถ้าจะแกล้งใครก็ง่ายเลย ดึงรอให้ใกล้หมดอายุความแล้วก็ส่งไป ทีนี้โดนฟ้องแน่ๆ

 

ทำไมเราจับคนๆหนึ่งเอาไปขังเราต้องรอ80 กว่าวัน อัยการจะฟ้อง-ไม่ฟ้อง พอไม่ฟ้อง เราก็เอาเขาไปติดคุกฟรีอย่างนั้นหรือ มันมีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน ทำไมในต่างประเทศเขาทำได้ ญี่ปุ่นให้เวลาระหว่างพิจารณา 10 วัน อเมริกาให้เวลา 30 วัน บ้านเราให้84วัน สำหรับการเป็นแพะอยู่ในคุก”(ตอน2)

 

ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จ.กาญจนบุรี กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ “ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา จะแก้ปัญหาความอยุติธรรมในสังคมไทยได้แค่ไหน?จัดโดย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร.) Police Watch และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า ร่างพรบ.ฉบับนี้ ตั้งหลักด้วยการถ่วงดุล ผมถามว่าหน้าที่พนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานให้มากที่สุดให้จริงที่สุด เพื่อให้อัยการจะเอาไปดำเนินคดีกับอาชญากร เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ กระบวนการยุติธรรมแบบนี้ทำไมถึงกลัวอัยการเห็นพยานหลักฐานตั้งแต่เริ่มคดี กลัวทำไม กลัวอะไร คุณต้องรวบรวมทุกอย่างให้อัยการดู กลัวอะไร กลัวนัก กลัวจริงๆ กลัวที่สุดเลยอัยการเห็นพยานหลักฐานตั้งแต่เริ่มคดี

 

เพราะว่าลองคิดดูในท้องที่หนึ่งที่มีสิ่งผิดกฎหมายมากๆมีหวยใต้ดิน มียาเสพติด มีอาวุธสงคราม มีโสเภณี มีสิ่งผิดกฎหมายจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้มันจะต้องจ่ายนะ จ่ายเพื่อการละเว้นการดำเนินคดี จะต้องจ่ายเพื่อเมื่อเกิดคดีแล้วต้องบิดเบือน ต้องคุ้มครองเขาได้ ต้องลบพยานหลักฐานได้ ต้องบิดเบือนคดีได้ ถ้าบิดเบือนคดีไม่ได้ ช่วยไม่ได้ จ่ายทำไม เงินก็หายไปจากระบบ ท้องที่นั้นก็จะไร้ราคา เมื่อไร้ราคา ก็ไม่ต้องซื้อตำแหน่ง เมื่อไม่ต้องซื้อตำแหน่ง ก็ต้องเองคนเก่งๆมาลงเพราะต้องมาทำงาน ให้ความเป็นธรรมกับคนเก่งได้ คนเก่งก็ได้โชว์ฝีมือ ไม่ใช่คนที่ต่อรองเก่ง จัดสรรผลประโยชน์เก่ง เก็บส่วยเก่ง ได้รับการโปรโมท ถ้ากระบวนการยุติธรรมที่โปรงใส่ มันแก้ปัญหาประเทศชาติได้สารพัดเลยนะ

 

ถ้าเราตั้งหลักอยู่บนการถ่วงดุล สมมุติเราให้พยาบาลไปเก็บรวบรวมทุกอย่าง วัดปรอทคนไข้ ดูอาการ รายงานให้หมอ หมอไม่ลงมาดูเลยในห้องฉุกเฉิน ถ้าหมอทำตามทุกอย่างรักษาทุกอย่างตามที่พยาบาลรายงาน ท่านคิดว่าคนไข้มีโอกาสตายหรือมีโอกาสรอด แปลว่าพยาบาลเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่จะเสนออาการป่วยอย่างไร อาการเป็นอย่างไร หมอรักษาตามนั้น คนไข้ตายครับ แต่ถ้าหมอลงมาเห็น พยาบาลเห็น ทุกคนลงมาเห็นพร้อมๆกัน มันก็จะวิเคราะห์ได้ทันที ตรงนี้ก็เหมือนกัน ถ้าจะให้พนักงานสอบสวนถ่วงดุลและมีความเห็นแย้งอัยการไปทำไม พูดตรงๆ เอาจากสำนวนที่เคยเจอ พยานหลักฐานไม่พอ ไม่มีเลย แต่ว่าทำเป็นซื่อสัตย์ก็ทำความเห็นสั่งฟ้อง พออัยการสั่งไม่ฟ้องก็โทษอัยการ เพราะอยากจะเอาใจผู้เสียหาย ส่วนคดีที่มีพยานหลักฐานมากมาย ก็ทำความเห็นไม่ฟ้อง คือถ้าไปรับเงินรับทองมาก็บอกว่าผมช่วยคุณแล้วนะ โยนไปอัยการ อัยการฟ้อง มีความรับผิดชอบอะไรครับ ทำความเห็นเพวกนี้

 

ผมถามดังๆในคดีที่มีพยานหลักฐานมากมายแต่ตำรวจทำความเห็นให้สั่งไม่ฟ้องให้อัยการ มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี พยานหลักฐานไม่มีเลยแต่ทำความเห็นเสนอให้อัยการสั่งฟ้อง มีความรับผิดชอบอะไรไหม ไม่มี เพราะคนที่รับผิดชอบจริงๆคืออัยการ แล้วคุณเอาคนที่ไม่รับผิดชอบอะไรเลยมาแย้งกันไปกันมาทำไม(ม.22ร่างพรบ.การสอบสวนคดีอาญา)หัวใจสำคัญมันอยู่ที่วันรกๆรวบรวมพยานหลักฐานมาสิครับ เห็นกันหลายๆคน ถ้าหากเกิดเหตุอย่างคดีพ่อโดดตึกตาย พิสูจน์หลักฐาน ฝ่ายปกครอง ทุกคนก็จะได้ก็อปปี้กล้องวงจรปิดแถวนั้นหมดแล้วนะ เพราะฉะนั้นใครคนใดคนหนึ่งมาพูดว่าไม่มีกล้องวงจรปิด ไม่ได้ เพราะฝ่ายปกครอง อัยการ ทุกคนจะยืนยันว่าไม่มีจริง คนก็จะเชื่อมั่นว่าไม่มีจริงๆไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งมาการันตี ซึ่งไม่ต้องการันตี เพราะมีหลายหน่วยงานรู้เห็น ถ้าพิสูจน์หลักฐานได้ก็อปปี้กล้องวงจรปิดไปแล้ว ท่านว่าคดีมันจะเปลี่ยนไปไหม

 

จำคดีเสือดำได้ไหมครับ บอกว่าไม่มีดีเอ็นเอ ป่าไม้ก็สวนออกมาเลยว่าเขาเก็บดีเอ็นเอไว้ เห็นไหม เพราะป่าไม้มีหน่วยงานที่ไปเก็บพยานหลักฐาน และเก็บดีเอ็นเอเสือดำในที่เกิดเหตุได้ ว่ามันมีการฆ่าที่นั่น เลือดมันกระเด็นที่นั่น นี่คือการถวงดุล ใครที่คิดจะช่วย ก็หน้าหงายกลับไป คือไม่ทำยังไม่เท่าไหร่ แต่ไปโทษว่าป่าไม้ทำดีเอ็นเอสูญหาย ป่าไม้ก็สวนเอาซะเลย ถ้าถ่วงดุลจะเป็นแบบนี้ แต่ปัจจุบันจะยึกยัก ดึงเวลา เวลาสำนวนมาถึงทุกอย่างมันหายหมดแล้ว

 

หลักที่มีหลายหน่วยงานเข้าไปดูจะทำให้ทุกคนทำงานอย่างมีอิสระ อิสระอย่างเดียวไม่พอ มันจะรับประกันความยุติธรรม ถ้าบอกให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมีอิสระ เขาก็อิสระทำอะไรก็ได้ เละเลยทีนี้ ต้องจำไว้เลยอิสระอย่างเดียวไม่พอ มันต้องให้ความยุติธรรมให้ได้ด้วย อิสระจะต้องมีการตรวจสอบได้ ไม่ใช่อิสระลอยๆ

 

ในร่างพ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา อย่างที่พ.ต.อ.วิรุตม์ ว่า ในเรื่องสำคัญไม่มี แต่ไปมีในเรื่องไม่สำคัญ อย่างมาตรา14 ที่บอกว่ามีพยานหลักฐานพอสมควร ก็เห็นแล้วว่ามันผิดหลักสากล จะแจ้งอัยการเข้ามาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหา ถ้าจะแจ้งข้อกล่าวหาถ้าจะช่วยใครก็ไม่ต้องแจ้ง ก็ทำคดีช่วยเขาไปเลย ไม่มีพยานหลักฐานพอก็ไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา อัยการก็เข้ามาดูไม่ได้ นี้คือกระบวนการยุติธรรมแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจะช่วยใครก็ได้

 

ส่วนในมาตรา22 แปลว่าบริสุทธิ์ ก็ฟ้องไป พยานหลักฐานไม่พอก็ฟ้องไป ถ้าจะแกล้งใครก็ง่ายเลย ดึงรอให้ใกล้หมดอายุความแล้วก็ส่งไป ทีนี้โดนฟ้องแน่ๆ กระบวนการยุติธรรมไม่ต้องกลั่นกรองอะไรแล้วครับ ถ้าเราเปิดแบบวิอาญาเราจะเอาวิสัยทัศน์ที่ไหนไปปฏิรูป มันไม่มีเขียนในวิอาญาหรอก กฎหมายไทยปิดไปเปิดมาคนเปิดก็จะเหมือนกบในกะลา ไม่รู้ว่าต่างประเทศเป็นอย่างไร โลกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร ตรงนี้มันผิดหลัก เมืองนอกต้องปราศจากข้อสงสัยเขาถึงฟ้องกันทั้งนั้น ทั้ง Civil Law หรือ Common Law ระบบไต่สวนเหมือนกันหมด

 

ในเรื่องการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหัวใจสำคัญจริงๆ เพราะพยานหลักฐาน แจ้งข้อกล่าวหาหนักเกินไปเช่นแจ้งแบบ 7ฝาก ก็โดนขังคุก84วัน ส่งสำนวนให้อัยการ อัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็ติดคุกฟรี ตรงนี้ทำไมไม่ให้อัยการเห็น เขาจะแจ้งข้อหาอะไร จะฟ้องอะไร จะไม่ต้องไปแย้งฟ้อง แย้งไม่ฟ้อง วุ่นวายไปหมด แล้วไปกองที่อัยการสูงสุด มาตรานี้(ม22)เรื่องของการแย้งกันไปแย้งกันมา ไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน ลองยกมาสักประเทศสิครับว่าเขาทำกันแบบนั้น แล้วถ้าแจ้งข้อกล่าวหาหนักอัยการสั่งฟ้องข้อหาเบาก็ติดคุกฟรี ในต่างประเทศตรงนี้ต้องชดใช้เงินเขานะ แต่บ้านเราฟรี

 

ในต่างประเทศเวลาจะสืบสวนสอบสวนจะดำเนินคดีใครมีพยานหลักฐานเท่าไหร่ก็มาปรึกษาอัยการ พยานหลักฐานพอหรือยัง เอาอะไรอีก จะค้นเขาหรือยัง จะจับเขาไหม อัยการก็จะดู โอ เค พยานหลักฐานพอแล้ว ถ้ายังไม่พอ จำเป็นต้องค้น ต้องออกหมายค้น เชื่อว่าที่นี่นะจะมี(พยานหลักฐาน) อัยการก็การรันตีว่าน่าจะมี อัยการก็ให้ไปขอไปออกหมายค้นที่ศาล มันจะมีคนมากรองอีกชั้นหนึ่งว่าการไปที่นั่นต้องการอะไร จะจับเขา อัยการบอกว่าพยานหลักฐานพอแล้ว อัยการจะฟ้อง เขาก็หาได้จริงๆ เพราะฉะนั้นวันนี้อัยการร่างฟ้องรอไว้เลย พรุ่งนี้ขอศาลออกหมายจับ พรุ่งนี้จับ พรุ่งนี้อัยการฟ้องเลย ไม่ต้องมีคนไปติดคุก80กว่าวัน (7ฝากๆละ12วัน)ติดคุกระหว่างพิจารณาคดี6หมื่นคน คิดเป็น30%ที่คนล้นคุก ปัจจุบันคนติดคุกประมาณ 2.2 แสนคน มีถึง 6หมื่นคนที่ถูกขังระหว่างการพิจารณา

 

ทำไมในต่างประเทศเขาทำได้ ญี่ปุ่นให้เวลาระหว่างพิจารณา 10 วัน อเมริกาให้เวลา 30 วัน บ้านเราให้84วัน สำหรับการเป็นแพะอยู่ในคุก ญี่ปุ่นจับปุ๊บอัยการดู อัยการบอกว่าผมไม่ฟ้องหรอกมันไม่มีพยานหลักฐานพอก็ปล่อยเดี๋ยวนั้นเลย ทำไมเราจับคนๆหนึ่งเอาไปขังเราต้องรอ80 กว่าวัน อัยการจะฟ้อง-ไม่ฟ้อง พอไม่ฟ้อง เราก็เอาเขาไปติดคุกฟรีอย่างนั้นหรือ มันมีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน เขาดูเลยจะฟ้อง ไม่ฟ้อง ถ้าฟ้องออกหมายจับ จับพรุ่งนี้ ฟ้องพรุ่งนี้ ไม่ต้องเอาคนไปขัง ทำไมเราทำแบบนั้นไม่ได้หรือ ตรงนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง

 

ถามว่าการแก้กฎหมายเหล่านี้เราสิ้นเปลืองอะไรไหม ไม่เลย เราใช้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบอยู่แล้ว ให้เข้ามารับผิดชอบให้เต็มที่ เราไม่ต้องไปที่หน่วยนอก ไม่ต้องตั้งหน่วยงานใหม่ ไม่ต้องเปลืองงบประมาณ สร้างขึ้นมาไม่ตอบโจทย์ เพราะไม่เชี่ยวชาญ ไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ไม่มีคน ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศแบบอัยการ ปัจจุบัน เรามีคนๆนี้อยู่แล้ว ทำไมเราไม่ให้เขาฟังก์ชั่นเต็มที่ ก็ให้เขารับผิดชอบต่อการยกฟ้อง รับผิดชอบต่อการพยานหลักฐานไม่พอ รับผิดชอบทุกๆเรื่องในคดี ไม่ใช่แบบทุกวันนี้ ความซวยตกกับประชาชนไป เกิดคดีขึ้นมาลงโทษไม่ได้ ก็ไม่รู้จะให้ใครรับผิดชอบ มองซ้าย มองขวา ไม่มีคนรับผิดชอบ(จบ)