สนทนาโต๊ะกลม’วิกฤติไฟใต้ จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไร เพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน’

สนทนาโต๊ะกลม’วิกฤติไฟใต้ จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไร เพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน’

south

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กิจกรรม : โต๊ะกลมสนทนาครั้งที่ 1 หัวข้อ วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน
วันพฤหัสที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒
โรงแรมซีเอส ปัตตานี ห้องสะบารัง จังหวัดปัตตานี
เวลา๑๓.๐๐-๑๗.๐๐น.

หลักการและเหตุผล
ความเสมอภาคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของประชาชน ตามหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ยึดถือต่อเนื่องกันมายาวนาน เช่นเดียวกับมาตรฐานอื่นๆ ที่ได้กำหนดไว้

จากรายงานการตรวจสอบข้อร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ปี ๒๕๔๕ – ๒๕๕๒ พบว่า กว่าร้อยละ ๖๐ ของเรื่องร้องเรียน เป็นปัญหาอันสืบเนื่องมาจากกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในอันดับต้นๆ ของข้อร้องเรียนเหล่านั้น

หลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ได้รับการรับรองจากการประชุมใหญ่ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา ครั้งที่ ๘ ณ กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม – ๗ กันยายน ๒๕๓๓ (Adopted by the Eighth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders, Havana, Cuba, 27 August to 7 September ๑๙๙๐).

จรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials) รับรองโดยมติที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ข้อมติที่ ๓๔/๑๐๙ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๒ (Adopted by General Assembly resolution 34/169 of 17 December 1979)

ขณะที่รัฐบาลประเทศออสเตรียก็ได้สนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารว่าด้วยกิจการตำรวจในสังคมประชาธิปไตย (Policing in a Democratic Society: Is your Police Service a Human Rights Champion?), Council of Europe, (Austrian Ministry of the Interior, 2000 ในปี ๒๕๔๓ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ตลอดจนความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงเห็นว่าการปฏิรูปตำรวจและระบบนิติธรรม เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ สามารถเอื้ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างเสมอภาค และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมได้อย่างแท้จริง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจมืออาชีพที่เคารพในหลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชน และประเทศไทยมีบทบาทนำในระดับภูมิภาคในด้านการปฏิรูประบบยุติธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีการบัญญัติเรื่องการปฏิรูปตำรวจไว้ในมาตรา ๒๕๘ ง (๔) ว่าด้วยการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปรับปรุงหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิรูประบบยุติธรรมที่เป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ดีรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ตามมาตรา ๒๖๐ ขึ้น เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน และมีกรรมการจากตำรวจ ผู้แทนหน่วยงานราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกรวม ๓๔ คน

อย่างไรก็ดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสภาพปัญหาในการเข้าถึงความยุติธรรมที่สลับซับซ้อนมากว่าพื้นที่อื่น มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF.) จึงได้ร่วมกับเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) รวมกันจัด โต๊ะกลมสนทนาครั้งที่1 หัวข้อ วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน แลกเปลี่ยนกับพี่น้อง ๓ จังหวัดภาคใต้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขั้นต้นดังนี้

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนภาคใต้ และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเข้าใจถึงปัญหาการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้น

๒. ระดมความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น เพื่อร่วมกันหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม

๓. เพื่อร่วมกันสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐบนฐานความรู้ความเข้าใจสิทธิมนุษยชนที่มีความเป็นมืออาชีพ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชน และหลักมาตรฐานสากลมากขึ้น

ผู้เข้าร่วม: ตัวแทนภาคประชาสังคม ผู้ได้รับผลกระทบ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม สื่อมวลชนและผู้สนใจ รวมทั้งตัวแทนพรรคการเมืองที่สนใจ จำนวน 80 คน

กำหนดการ

หัวข้อ วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมกับประชาชน

วันพฤหัสที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ โรงแรมซีเอส ปัตตานี ห้องสะบารัง จังหวัดปัตตานี

เวลา๑๓.๐๐-๑๗.๐๐น.

๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ ลงทะเบียน

๑๓.๓๐ กล่าวเปิดโดย คุณสมศรี หาญอนันทสุข เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ

๑๓.๔๐-๑๕-๓๐ ตั้งโต๊ะกลมสนทนาครั้งที่1 หัวข้อ วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน แลกเปลี่ยนกับพี่น้อง ๓ จังหวัดภาคใต้ เรื่อง วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปตำรวจอย่างไรเพื่อคืนความยุติธรรมแก่ประชาชน โดย

ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม
ตัวแทนเครือข่ายไทยพุทธเพื่อสันติภาพ
ตัวแทนศูนย์ทนายความมุสลิม
ตัวแทนกลุ่มด้วยใจ
ตัวแทนบ้านบุญเต็ม
พตอ. วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร คอลัมนิสต์ เสียงประชาชนปฎิรูปตำรวจ ไทยโพสต์
ดำเนินรายการ บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร)และพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

๑๕.๔๐-๑๖-๓๐ ถามตอบ และตอบข้อซักถาม