ส.ว.ชำแหละ!ประกาศคสช.115/57-ร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจทำลายระบบการถ่วงดุลอำนาจ หมกเม็ดให้ตร.ขี่คออัยการ ขัดรธน.

ส.ว.ชำแหละ!ประกาศคสช.115/57-ร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจทำลายระบบการถ่วงดุลอำนาจ หมกเม็ดให้ตร.ขี่คออัยการ ขัดรธน.

 

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา( ส.ว.) กล่าวอภิปราย รายงานการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง แผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม โดยกล่าวถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ การทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง  ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 142-145

 

แต่ ยุคคสช.หลังการยึดอำนาจวันที่ 22 พ.ค.2557 ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 115/2557 แก้ป.วิอาญา ทำเพียงบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น หัวหน้าคสช.เซ็นแกร๊กเดียว ทำให้อัยการเป็นลูกน้องตำรวจ อำนาจถ่วงดุลของผู้ว่าราชการจังหวัดหายไปเลย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมม.145/1 แต่ก่อนการทำความเห็นแย้งสั่งไม่ฟ้อง ต้องไปที่ผู้ว่าฯ แต่กลับให้ส่งผู้บัญชาการตำรวจภาค  หมายความว่าตำรวจจับอัยการฟ้องไม่ฟ้องก็ไปหาตำรวจอีก ประกาศคสช.ฉบับนี้เป็นการทำลายระบบถ่วงดุลอำนาจ เซ็นประกาศให้อัยการเป็นลูกร้องตำรวจ สมควรยกเลิก ขาดหลักประกันความยุติธรรม

 

ส่วนร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจ(พรบ.การสอบสวนคดีอาญา)ที่จะเข้าที่ประชุมรัฐสภา กำหนดไว้ในมาตรา 23 ในกรณีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ให้พนักงานอัยการส่งสำนวนให้ ผู้บังคับการสอบสวน  โครงสร้างแบบนี้ไม่ใช่การถ่วงดุลอำนาจ และไม่ใช่ปฏิรูปคือมี2ฝ่ายเท่านั้น คือตำรวจจับแล้วสอบสวน แล้วอัยการไม่ฟ้องก็ส่งให้ตำรวจอีก  ดูผังแล้วอัยการเป็นลูกน้องตำรวจ

 

การแก้ไขดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง  ด้านกระบวนการยุติธรรม  (2 )กำหนดไว้ว่า  ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม แล้วมันเหมาะสมหรือไม่ ตำรวจจับส่งอัยการแล้วตำรวจขี่คออัยการอีก  เมื่อ86 ปีที่แล้วตำรวจจับส่งอัยการในภูมิภาคต้องส่งผู้ว่าราชการจังหวัด จึงฝากว่าถ้ากฎหมายเข้ามาต้องช่วยกันพิจารณาเป็นพิเศษด้วย