ชำแหละ!กรรมาธิการรัฐสภาไม่รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองแบ่งเค้กให้พวกพลาดหวังเก้าอี้ส.ส.ไม่ตอบสนองปัญหาปชช.เสนอมีตัวชี้วัดการทำงาน

ชำแหละ!กรรมาธิการรัฐสภาไม่รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองแบ่งเค้กให้พวกพลาดหวังเก้าอี้ส.ส.ไม่ตอบสนองปัญหาปชช.เสนอมีตัวชี้วัดการทำงาน

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ถนนสามเสน สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.)  เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร.) และคณ ะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา จัดเสวนาเรื่อง คณะกรรมาธิการรัฐสภา ประชาชนหวังพึ่งพาได้แค่ไหน” โดยวิทยากร ประกอบด้วย  นายกษิต ภิรมย์  อดีตรมว.การต่างประเทศ  น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะกรรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน  สภาผู้แทนราษฎร   น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย  ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)  ในฐานะประธานกรรมาธิการสื่อสารมวลชนโทรคมนาคมดิจิตอลและเศรษฐกิจ สภาฯ  พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสป.ยธ.  นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม    ดำเนินรายการโดย  คุณรัชฎะ สมรทินกร

วิเชียร ตันศิริคงคล

โดย ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล ประธานสป.ยธ. กล่าวเปิดการเสวนาว่า  กรรมาธิการมีอำนาจหน้าที่แตกต่างไปจากเดิม มีส่วนสำคัญในการช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการทำงาน ซึ่งจะทำแบบเดิมไม่ได้ และต้องมีการปรับปรุงการทำงาน กรรมาธิการที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะกรรมาธิการตำรวจ เมื่อมีตำรวจยิงตัวตาย กรรมาธิการชุดนี้ต้องออกมาพูดอะไรบ้าง  หรือกรรมาธิการในชุดต่างๆ ก็ต้องทำในเรื่องนั้นๆอย่างรวดเร็ว เราอยากจะเห็นกรรมาธิการทำหน้าที่อย่างที่เขาทำในต่างประเทศ มีประสิทธิภาพมาก เราต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สามารถบอกได้ว่าในร้อยคดี ส่งฟ้องกี่คดี สิ้นสดแล้วกี่คดี   ในการบริหารราชการแผ่นดินเราไม่มีข้อมูล  ถ้าเราได้กรรมาธิการที่เข้มแข็ง มีประสบการณ์ก็ไม่ต้องมานับหนึ่งใหม่ คนเห็นการทำงานแล้วมีความหวัง

 

นางสาวพรรณนิการ์ วานิช  กล่าวว่า กรรมาธิการในยุคนี้มีบทบาทมาก เป็นกลไกที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก น่าจะเป็นเพราะการเมืองยุคนี้ ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำมาก ได้รับความนิยมพอๆกัน คนที่อยากติดตามแต่ละฝ่าย จะติดตามกรรมาธิการมาก เพราะมีความพยายามที่จะทำหลายอย่างมากมาย รวมทั้งการรับเรื่องร้องเรียนด้วย  เมื่อศึกษาประเทศอื่นๆจะเห็นว่าทีวีของเขามีช่องที่ถ่ายทอดให้ประชาชนได้ติดตาม เราจึงมีการ FB Live ผ่านเพจของกรรมาธิการเอง  มีการเรียนตำรวจมาชี้แจงในประเทศต่างๆ  พอจบการ live ก็ต้องลบ เพราะมีข้อมูลลับอยู่ด้วย มีหลายกรณีที่พูดถึง SLAPP ซึ่งมีการฟ้องร้องกันด้วย  ฟ้องด้วยมาตรา 116 ปรากฏว่ามีคนดู 80,000 คน

พรรณนิการ์ วานิช

“กรรมาธิการไม่มีบทบาทบังคับหรือไปยุ่งกับคดีความ มีการเรียกครอบครัวของคุณอับดุลเลาะห์  เรียกแพทย์มาชี้แจงข้อมูล เพราะบันทึกของกรรมาธิการเอาไปใช้ในศาลได้ บางเรื่องไม่ต้องถึงศาลจบได้ในชั้นกรรมาธิการ เราเคยมีการขอสันติบาลที่สถาบันการศึกษาขอให้นิสิตนักศึกษามุสลิมไปในบางประเด็น เมื่อคนหมดศรัทธาต่อนักการเมืองในสภาแล้วหันมาพึ่งกรรมาธิการ ถ้ากรรมาธิการ 35 คณะที่มีทุกพรรคอยู่ทำงานร่วมกันถ้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้  ถ้ากลไกในรัฐสภาเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งได้ ประชาชนก็จะหันมาศรัทธาไม่ไปพึ่งการรัฐประหาร  การประท้วงในท้องถนน นองเลือดก็จะไม่เกิดขึ้น”นางสาวพรรณิการ์ กล่าว

 

นายกษิต  ภิรมย์  กล่าวว่า  ปกตินักการทูตจะทำหน้าที่เจรจาแก้ปัญหา เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมืองก็จะแก้ปัญหาของประเทศ เปลี่ยนรูปโฉมประเทศให้ดีขึ้น เมื่อผมมาอยู่ภาคประชาสังคม ก็ขอเป็นฝ่ายที่ 3 ระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคหัวก้าวหน้า ในฐานะที่เคยเป็นข้าราชการประจำ และเป็น ส.ส. ก็เคยไปชี้แจงกับกรรมาธิการเช่นกัน  ตอนนี้เรามีการเข้าถึง social media   ไม่ต้องผ่านทีวีหรือวิทยุแบบเดิม ประชาชนก็เข้าถึงข้อมูลได้ดีกว่า

อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า กรรมาธิการเป็นเรื่องการแบ่งเค้กกันมากกว่า  เรามีกรรมาธิการมากเกินไป บางคณะสามารถรวมกันได้ ไม่จำเป็นต้องมีมากขนาดนั้น  แก้ปัญหาอุดมการณ์ว่าด้วยชาติ ศาสนา กษัตริย์ เราเข้าใจเท่ากันหรือไม่  และเราเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง มีปัญหาการแพทย์ การศึกษา ทรัพยากร เราจะมีรถไฟความเร็วสูงไปทำไม    ผมไปพูดที่สนามบิน 15 นาทีก็ถูกกล่าวหาอย่างง่ายดาย  เราอยู่ในกับดักของ  middle income และยังไม่ปฏิรูปข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการเป็นขี้ข้าประชาชน ไม่ควรมีขั้นตอนในการให้บริการประชาชนมากมาย

 กษิต ภิรมย์

“ยังมีพวกหากินกับกมธ. มีหน้าเดิมๆ ที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษา โดยเฉพาะร้อยละ70 ไม่ใช่ส.ส.ไม่ได้เรื่อง และคนที่เข้าไปไม่ตอบสนองของการแก้ปัญหาต่างๆ   บางคนเป็นเด็ก ในพรรค หรือ ลิ่วล้อเข้าไปต้องการมีชื่อติดบัตร เพื่อเข้าไปของานต่างๆ ไปเบ่งที่นู้นเบ่งที่นี้ ดูว่ามีโครงการอะไรที่เข้าไปมีส่วนรวมได้ หรือไม่ และหากโชคดีก็ไปดูงานเมืองนอก ถือเป็นการคอรัปชั่นประเภทหนึ่ง  ผมอยู่มา 2-3 กรรมาธิการ และเป็นผู้พูดมากมาย แต่เรามักไม่เห็นกรรมาธิการที่เป็นผู้ให้ contribute คอยมาหาประโยชน์ แล้วจะมีกรรมาธิการมากมายไปเพื่ออะไร มันต้องตอบสนองประเทศในยุค 4.0  ข้าราชการต้องไม่ใช่กระสอบทรายของบรรดารัฐมนตรี เพราะมันเป็นสนามประหัตประหารกันไปแล้ว  เราจะเปลี่ยนวินัยกันได้อย่างไรให้เวทีกรรมาธิการเป็นเวทีที่ศิวิไลย์”

นายกษิต กล่าวอีกว่า ข้าราชการไม่มีสิทธิที่จะบอกกรรมาธิการว่าเรื่องบางเรื่องเป็นความลับราชการ มันต้องเปิดเผย แม้กระทั่งการซื้ออาวุธก็ต้องเปิดเผย หรือเรื่องที่เป็น G to G ก็ต้องเปิดเผย จะบอกว่าเป็นความลับไม่ได้ ส่วนเรื่องการจัดงบประมาณ การศึกษา อาหารกลางวัน มันต้องดูเรื่องภูมิศาสตร์ด้วย  ตอนนี้เรามีพรรคอนาคตใหม่เข้ามา มีคุณช่อ คุณเสรี ทำหน้าที่ในกรรมาธิการเข้มข้น ที่ใช้ social media ได้ดีกว่าเดิม

 

นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย  กล่าวว่า  กรรมาธิการเป็นเหมือนเวทีฝ่ายค้าน และในสมัยก่อน กรรมาธิการมีบทบาทน้อยมาก แต่วันนี้เป็นประธานกรรมาธิการ ได้คิดเช่นกันว่าเราไม่ควรทำงานแบบเดิมๆ เช่นรับเรื่องร้องเรียนใหญ่ๆไปสามสี่เรื่องแล้ว เราจะเชิญ กสทช.มาให้คำตอบ  เราทำงานเชิงรุก ให้การศึกษา รับเรื่องร้องเรียน เรื่องการเลี่ยงภาษี ทำ platform เรื่องการเกษตร การศึกษา การสาธารณสุข  เราจะไปพึง สส.ในสภาหรือคณะใหญ่ก็ไม่ทันกาลเราต้องลงพื้นที่ ไปดูเรื่อง smart city ไปรับรู้เรื่องรถไฟความเร็วสูง ใน lot แรกจะโบกี้ปล่อยจากจีนมาที่หนองคาย มากินข้าว ซื้ออาหาร เราต้องรองรับหลายอย่างรวมทั้งเรื่องความปลอดภัย

กัลยา รุ่งวิจิตรชัย

“แม้ว่าความขัดแย้งในยุคนี้รุนแรง แบ่งเป็นขั้นกันมาก เราต้องทำให้กรรมาธิการเป็นที่พึ่งของประชาชน ทุกคนต้องถอดหัวโขน แล้วทำงานร่วมกัน เป็นที่น่าเชื่อถือ พึ่งพาได้ ไม่สร้างความอึดอัดให้หน่วยงานรัฐที่จะมาชี้แจง  เพื่อไม่ให้เขาส่งแต่คนตัวเล็กๆมา ผู้ใหญ่ไม่มา  เราต้องการผู้ใหญ่มาตอบคำถาม  ไม่คิดว่าเขาเป็นกระสอบทราย สร้างผลงานได้ด้วย  อย่าแบ่งว่าใครเป็นพรรคเล็ก พรรคเก่าแก่เมื่อลงไปดูพื้นที่จริง เราอาจจะไม่จำเป็นต้องไปจังหวัดที่เราสังกัด คะแนนเราอาจจะมาจากผลงานที่เราทำมากกว่า  เราไปภูเก็ต ชลบุรี ก็ไม่ใช่พื้นที่ของเรา แต่เราต้องการสร้างความเชื่อถือ เราเป็นกรรมาธิการที่ไม่เคยทะเลาะกันเลย  การตั้งที่ปรึกษา เลขา ผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นคนที่มีความรู้จริงๆ ไม่ใช่ตั้งกันมาเพื่อมีนามบัตร ไปอวดใคร  ไปขายของให้ใคร  ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเราก่อน   และในคดีที่สิ้นสุดแล้วเราควรจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วย”นางสาวกัลยา กล่าว

 

นายสุรพงษ์ กองจันทึก  กล่าวว่า เมื่อเราเป็นประชาธิปไตย และไม่มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามาบริหารประเทศโดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยตรงได้ส่วนหนึ่ง  เราจึงตั้งกรรมาธิการเพื่อมาตรวจสอบ  และสามารถเลือกกรรมาธิการสามัญได้อีกเพื่อศึกษาตรวจสอบการทำงาน เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ผมมาหากรรมาธิการในฐานะเป็นผู้ร้องเรียน เพราะเรื่องหลายเรื่องหายไป ไม่มีความคืบหน้า ในเหตุที่เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้ละเมิดสิทธิประชาชน  จึงต้องให้ประชาชนเข้าหากรรมาธิการได้โดยตรง ชี้แจงเล่าเรื่องให้ที่ประชุมในรัฐสภาได้  เป็นช่องทางที่เป็นทางออกให้ประชาชนได้  ผมทำหน้าที่ในหลายบทบาท เป็นอนุกรรมาธิการก็เป็นมาแล้ว 20 กว่าปี

สุรพงษ์ กองจันทึก

“เมื่อสภานิติบัญญัติมีการแต่งตั้งจากฝ่ายรัฐ  ก็ต้องมีการตรวจสอบ ปัญหาหลายอย่างก็มาแสดงออกในยุคนี้   จากการเลือกตั้งนั้นเราจะเห็นว่าประชาชนจำนวนมากต้องการผู้แทนที่คิดอะไรใหม่ๆ ทำให้ประเด็นของสังคมมีการสื่อสารกันมากขึ้นแต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าห่วง  คือใน รธน. 2560  ที่บอกว่าการตรวจสอบของกรรมาธิการไม่สามารถให้ผู้อื่นกระทำได้  อนุกรรมการเข้าไปตรวจสอบไม่ได้  ส่งผลให้หลายคนไม่อยากมาชี้แจง เพราะต้องชี้แจงหลายชุด การตรวจสอบควรให้ผู้ได้รับมอบหมายตรวจสอบได้ ในมาตรา 229 ที่ต้องการให้เปิดเผยข้อมูล เรายังมีปัญหาที่ไม่อยากเปิดเผยอยู่มาก  เปิดเผยมีแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์   ในมาตรา 129 เป็นเรื่องของการแบ่งเค้กจริงๆ ซึ่งเหมือนจะดูดี แต่ทำให้งานของกรรมาธิการไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ”

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า  ขอฝากกรรมาธิการในหลายเรื่อง ขอให้กรรมาธิการทำในเรื่องส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ควรเอาเรื่องส่วนตัวมานำส่วนรวม ในการพิจารณาในบางชุดเหมือนประธานมีการทำให้มีส่วนตัวไม่ใช่เรื่องบ้านเมือง เราจะเอาเนื้อหาออกมามากๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน สุดท้าย เมื่อกรรมาธิการมีอำนาจมาก สามารถเรียกคนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ทำให้เป็นที่สนใจ ไม่ควรมีการเกรงใจกัน ปัญหาหลายอย่างไม่ได้จบที่ ส.ส. ยังต้องนำไปพิสูจน์ตรวจสอบต่อ  กรรมาธิการต้องไม่มีอคติส่วนตัว ต้องยึดหลักการ เมื่อ กฎหมายให้อำนาจในการติดตาม และให้ข้อเสนอแนะด้วย ภายใน 60 วันรัฐต้องมีคำตอบ หรือตอบให้ได้ว่าดำเนินการไปถึงไหน  ไม่ควรให้ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาก โดยใช้ข้ออ้างเรื่องความปลอดภัย

 

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร กล่าวว่า จากที่ได้เขียนคอลัมน์ในสื่อสองแห่ง และเคยเป็นตำรวจ เป็นผู้เสียหายเองในอดีตกรณีโดนลอบวางระเบิดที่บ้านพัก  เห็นว่ากรรมาธิการ 35 คณะยังเป็นเรื่องของวิชาการมาก ยังมีมิติในเรื่องยุติธรรมน้อย สภาแห่งใหม่เราค่อนข้างโอ่อ่า ประชาชนรู้สึกกลัว ขาสั่น เข้าถึงยาก ไม่เหมือนสภาที่เดิม   ผมเห็นด้วยว่าการทำงานประชุมของกรรมาธิการ ไม่ควรปิดบัง  จากประสบการณ์ของผมในอดีตที่เคยเป็นกรรมาธิการอยู่ปีกว่า ไม่เห็นการทำงานเป็นเรื่องราว  5 ปีที่ผ่านมาเรามีความสงบแบบอึดอัด ไม่มีทางออก ตอนนี้เราหวังพึ่งกรรมาธิการมาก  และไม่ควรให้ประธานครอบงำมากไป การมีปัญหาจุกจิก ทำให้เราคุยเรื่องสาระน้อย  เจ้าหน้าที่เองก็มีปัญหาที่ทำตัวสนิทสนมกับผู้ถูกเชิญมาให้ปากคำ จึงทำให้การเข้าถึงของผู้เดือดร้อนบางครั้งไม่สะดวกใจ เพราะเห็นมีการสนิทกัน

 วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

“เรายังไม่เห็นความหวังเรื่องกรรมาธิการด้านตำรวจ ไม่มีอะไรที่จะนำไปสู่การดำเนินการ ในส่วนของตำรวจก็มีแต่เรื่องโกหก   การเชิญไปบางเรื่องจะมาก็ได้ไม่มาก็ได้ เราต้องมี  คำสั่งเรียก และต้องมาและเราต้องทำงานเชิงรุกที่ไม่ต้องคอยให้ใครมาร้องเรียน  เราควรจะเรียกได้เลย  ขอฝากคุณพรรณิการ์ ไป เพราะดูจะมีความหวังมากกว่ากรรมาธิการตำรวจ   การชี้แจงต้องเป็นเรื่องเป็นราว มีบรรยากาศที่ดี และกรรมาธิการแต่ละชุดต้องไม่เกี่ยงกัน  และต้องมีตัวชี้วัดในการทำงานด้วย  ถ้าเราจะร้องเรียนเรื่องตำรวจจะไปที่สองชุดเลย ทั้ง กรรมาธิการตำรวจ และกรรมาธิการยุติธรรมได้หรือไม่”พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว

 

น.ส. พรรณิการ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า   มีหลายเรื่องที่ส่งหลายกรรมาธิการ ซึ่งประธานจะพิจารณาเองว่าคณะไหนจะเป็นเจ้าภาพ  เพราะบางเรื่องมีความทับซ้อนกัน  ท่านส่งเรื่องได้เลย แล้วพิจารณาเอง  แต่ถ้าส่งกรรมาธิการกฎหมายก็อาจจะรอนาน เพราะมีหลายเรื่อง ยกเว้นบางเรื่องที่เร่งด่วนก็จะหยิบมาพิจารณาก่อนเช่นปัญหาภาคใต้  การปกป้องผู้พิพากษาประเด็นค่าตอบแทนตำแหน่งที่ปรึกษา เลขาฯ ที่เชิญมา แต่ละท่านจะมีเบี้ยประชุมแต่ละท่านครั้งละ 800 บาท ซึ่งน้อยมาก เลขาดิฉันมีเงินเดือน 6000 บาท  เราต้องแบกหน้าขอร้องกันเพื่อให้มาช่วยงานกัน     ส่วนเรื่องการเรียกให้ส่วนราชการมาชี้แจงบางเรื่อง ส่วนใหญ่จะมาชี้แจง ไม่มีการเกี๊ยะเซี๊ยะ ไม่ควรมีการรักษาบรรยากาศการทำงาน เปิดรับประชาชน และจะมีการปรับปรุงให้ประชาขนเข้าถึงได้มากขึ้น

นางสาวกัลยา กล่าวเสริมว่า เห็นด้วยว่าไม่ควรปิดบังข้อมูล แต่ไม่ควรมีการ live สด เพราะจะเสียสมาธิ  หลายๆคณะที่เราเห็นว่ายังขับเคลื่อนอะไรไม่ได้  เพราะการแต่งตั้งมันผิดมาแต่แรก กรรมาธิการชุดดิฉันไม่มีปัญหา  การจัดสรรในการเสนอข่าวพูดแถลงข่าวจะสลับกัน มันเป็นเรื่องการบริหารจัดการ ประธานแต่ละชุดต้องถอดหัวโขนกันจริงๆ  การไปต่างจังหวัดก็มีการทำการบ้านลงพื้นที่จริง ได้ข้อมูลอารมณ์ความรู้สึกกันจริงๆ เราไปนั่งกันอยู่ที่ถนนกัน เราทำการบ้าน มีการเรียกเอกสารมาดูก่อนเดินทางทุกวันนี้เราใช้เทคโนโลยีเพราะมันลดความเหลื่อมล้ำของสังคม  เราจะเอาเทคโนโลยีไปทำเรื่องเกษตรก็เป็นได้

กรรมาธิากร

ขณะที่ นายสุรพงษ์ ไม่เห็นว่าด้วยกับการมีกรรมาธิการน้อยลง เพราะแต่ละคนมีงานน้อยลงเพราะงานในแต่ละกรรมาธิการมีหลายประเด็น  ควรให้มีการตั้งได้มาก มีคนมาเสริมมากๆ ส่วนค่าตอบแทนไม่จำเป็นต้องให้  ถ้าเป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนผมไม่รับ เพราะถ้ามีเขาจะเอาคนของเขาเข้ามาเอง  อย่างไรก็ตามเราต้องเปิดโอกาสให้มีการทำงาน ไม่ควรปิดโอกาส

นางสาวกัลยา  กล่าวอีกว่า การตั้งอนุกรรมาธิการสามารถตั้งได้ แต่อยากให้เปิดการประชุมได้ถี่มากขึ้นตอบคำถามเรื่องวิทยุชุมชน  วันที่ 4 นี้เราสามารถฟังข่าวสารได้มากขึ้น เราเคยมีผู้ประกอบการวิทยุชุมชนที่มากัน 70 กว่าท่าน แต่ทาง กสทช.ไม่ได้มา ปรากฏว่าไม่มีการซักถาม แต่ฝากคำถามให้ไปตอบว่าต้องการอะไร เรื่องการตั้งเสา ความถี่ เป็นต้น  ดิฉันเป็น ส.ส.เขตจะทราบดีว่าแต่ละท้องถิ่นมีอัตลักษณ์ มีการสื่อสารเป็นลักษณะของตนเอง  เราจะทำงานแบบเดินให้สุดซอย อะไรได้หรือไม่ได้จะตอบไปตรงๆ

พ.ต.อ.วิรุตม์  กล่าวว่า เรื่องการ live สด ก็เข้าใจว่าไม่ควรมี แต่มีเรื่องข้อมูลมือถือ ในรัฐธรรมนูญใหม่เขียนไว้ว่าห้ามล่วงรู้ข้อมูลในมือถือ แต่เจ้าหน้าที่ไปขอข้อมูลจากบริษัทเอง และบริษัทไม่รู้กฎหมายก็ให้ไป ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน จึงฝากร้องเรียนต่อกมธ.ด้วย

ช่วงท้าย ดร.วิเชียร กล่าวสรุปว่า  นับเป็นครั้งแรกที่เราพูดถึงเรื่องกรรมาธิการ เพื่อให้การตรวจสอบมีความเข้มแข็ง  เป็นช่องทางอีกทางหนึ่งให้ประชาชน  โจทย์ต่อไปเราควรจัด ranking กรรมาธิการไหนที่เป็นดาวเด่นในการทำงาน  ทั้งนี้พื้นที่ในสภาเราน้อยก็ต้องหาที่พึ่งทางกรรมาธิการทุกชุด

กรรมาธิการ